อาการความดันเลือดสูง
ความดันเลือดสูง
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น
ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆแบบไมเกรนได้
ในรายที่เป็นมานานๆ หรือความดันเลือดสูงมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือ-เท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล
เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขน-ขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
การดำเนินโรค
หากปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไม่ช้าก็เร็ว (ภายใน 5-10 ปี หรือ 20 ปี)
แต่ถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมระดับความดันเลือดได้ดี โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนก็จะลดลงมากและอาจมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ ทั่วไป
ภาวะแทรกซ้อน
หากปล่อยปละละเลย หรือรักษาไม่จริงจัง จนความดันเลือดสูงอยู่เรื่อยๆ เป็นแรมปี อาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทีละน้อยแบบไม่รู้ตัว จนตีบตันส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ สมองเสื่อม หลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย ไตวาย ตามัว ตาบอด เป็นต้น ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว จะมีความยุ่งยาก และสิ้นเปลือง เกิดความพิการอย่างถาวร และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ฉับพลัน
ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวจะเกิดขึ้นอาจใช้เวลานาน 5-10 ปีหลังเป็นความดันเลือดสูง แต่อาจเกิดเร็วขึ้นถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ (เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย) ร่วมด้วย
บางคนอาจเป็นโรคความดันเลือดสูงแบบไม่มีอาการ (ไม่รู้ตัว) อยู่นานนับสิบปี แล้วอยู่ๆ ก็ต้องหามเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตกะทันหันจากภาวะแทรกซ้อน (เช่น หลอดเลือดสมองแตก หัวใจวาย) โรคนี้จึงมีชื่อว่า "มัจจุราชมืด" หรือ "นักฆ่าเงียบ (silent killer)"
ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่อย่างใด และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปให้แพทย์ตรวจรักษาด้วยปัญหาอื่น
ส่วนน้อยอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ วิงเวียน มักจะเป็นเวลาตื่นนอนใหม่ๆ พอตอนสายจะทุเลาไปเอง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆแบบไมเกรนได้
ในรายที่เป็นมานานๆ หรือความดันเลือดสูงมากๆ อาจมีอาการอ่อนเพลียเหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ มือ-เท้าชา ตามัว หรือมีเลือดกำเดาไหล
เมื่อปล่อยทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจแสดงอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บหน้าอก บวม หอบเหนื่อย แขน-ขาเป็นอัมพาต เป็นต้น
การดำเนินโรค
หากปล่อยไว้ไม่รักษาก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไม่ช้าก็เร็ว (ภายใน 5-10 ปี หรือ 20 ปี)
แต่ถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองอย่างถูกต้องจริงจังและต่อเนื่อง จนสามารถควบคุมระดับความดันเลือดได้ดี โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนก็จะลดลงมากและอาจมีชีวิตยืนยาวได้เช่นคนปกติ ทั่วไป
ภาวะแทรกซ้อน
หากปล่อยปละละเลย หรือรักษาไม่จริงจัง จนความดันเลือดสูงอยู่เรื่อยๆ เป็นแรมปี อาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทีละน้อยแบบไม่รู้ตัว จนตีบตันส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น อัมพาต อัมพฤกษ์ สมองเสื่อม หลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย ไตวาย ตามัว ตาบอด เป็นต้น ซึ่งเมื่อเป็นแล้ว จะมีความยุ่งยาก และสิ้นเปลือง เกิดความพิการอย่างถาวร และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ฉับพลัน
ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวจะเกิดขึ้นอาจใช้เวลานาน 5-10 ปีหลังเป็นความดันเลือดสูง แต่อาจเกิดเร็วขึ้นถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ (เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง อ้วน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย) ร่วมด้วย
บางคนอาจเป็นโรคความดันเลือดสูงแบบไม่มีอาการ (ไม่รู้ตัว) อยู่นานนับสิบปี แล้วอยู่ๆ ก็ต้องหามเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตกะทันหันจากภาวะแทรกซ้อน (เช่น หลอดเลือดสมองแตก หัวใจวาย) โรคนี้จึงมีชื่อว่า "มัจจุราชมืด" หรือ "นักฆ่าเงียบ (silent killer)"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น