อาการโรคเบาหวาน
เบาหวาน
ในรายที่เป็นไม่มาก ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เกิน 200
มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นส่วนใหญ่
ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดีและไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือดขณะไปพบแพทย์ด้วยเรื่อง
อื่น หรือจากการตรวจเช็กสุขภาพ
ในรายที่เป็นมาก ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 1 และบางส่วนของเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย และออกครั้งละมากๆ กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อยหรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางรายอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติด้วยภาวะคีโตนในเลือดสูง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อยและรูปร่างผอม
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงชัดเจน ส่วนน้อยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีน้ำหนักขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอยู่แต่เดิม ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน) อาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีหรือโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรัง หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย เจ็บ จุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว เป็นต้น
การดำเนินโรค
เบาหวานมักเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ถ้าปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเกิดภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายรุนแรงฉับพลันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างสะสมจนทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมจนเกิดโรคแทรกซ้อนเกือบทุกระบบดังกล่าวข้างต้นได้
แต่ถ้ารู้จักดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็สามารถคุมโรคได้ตามเป้าหมายพึงประสงค์ ผู้ป่วยก็จะชะลอไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขเฉกเช่นคนทั่วไป และมีชีวิตยืนยาว อาจอยู่ถึง 80-90 ปีได้
ภาวะแทรกซ้อน
มักเกิดกับผู้ป่วยที่ปล่อยปละละเลย ขาดการรักษา หรือปรับลดหรือปรับเพิ่มยาเองตามอำเภอใจ (ด้วยความไม่เข้าใจถึงความเป็นเพชฌฆาตมืดของโรคนี้)
ที่เป็นอันตรายร้ายแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตฉับพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (มักเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด กินอาหารน้อยหรือผิดเวลา) และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ (มักเกิดจากการขาดยา หรือหยุดยากะทันหัน) ซึ่งอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ และถ้าได้รับการรักษาไม่ทันกาลก็อาจเสียชีวิตได้
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยอย่างสะสม ก็มักจะเกิดจากการปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (150-200 มก./ดล.) อยู่นาน 5-10 ปีขึ้นไป โดยที่ผู้ป่วยรู้สึกสบายดี (ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าคุมโรคได้แล้ว จึงแอบปรับลดยาเอง และไม่เคร่งครัดในการควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว) ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
ในรายที่มีอาการปัสสาวะบ่อย และกระหายน้ำบ่อย อาจเกิดจากโรคเบาจืด (diabetes insipidus) ซึ่งพบได้น้อย สามารถแยกจากเบาหวานโดยการตรวจเลือด พบว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ในรายที่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เอดส์ (มีไข้เรื้อรัง ท้องเดินเรื้อรัง) วัณโรคปอด (มีไข้และไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด) คอพอกเป็นพิษ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (มีอาการหิวบ่อย น้ำหนักลด ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว คอโต) มะเร็ง
อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด
ขอบคุณข้อมูลและเรื่องราวดีๆจากเว็บไซด์ หมอชาวบ้าน
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีดูแลตัวเองได้ที่เว็บไซด์ หมอชาวบ้าน
ในรายที่เป็นมาก ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 200 มก./ดล. ซึ่งพบในกลุ่มเบาหวานชนิดที่ 1 และบางส่วนของเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นถึงขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย และออกครั้งละมากๆ กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อยหรือกินข้าวจุ อ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางรายอาจสังเกตว่าปัสสาวะมีมดขึ้น
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นรวดเร็วร่วมกับน้ำหนักตัวลดลงฮวบฮาบ (กินเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ผู้ป่วยเด็กบางรายอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืน ผู้ป่วยบางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหมดสติด้วยภาวะคีโตนในเลือดสูง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อยและรูปร่างผอม
ในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงชัดเจน ส่วนน้อยจะมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น น้ำหนักตัวอาจลดลงบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีน้ำหนักขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอยู่แต่เดิม ในรายที่เป็นเรื้อรังมานาน (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการปัสสาวะบ่อยมาก่อน) อาจมีอาการคันตามตัว เป็นฝีหรือโรคติดเชื้อราที่ผิวหนังบ่อย หรือเป็นแผลเรื้อรัง หรืออาจมาพบแพทย์ด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า ตามัวลงทุกที หรือต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อย เจ็บ จุกหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะองคชาตไม่แข็งตัว เป็นต้น
การดำเนินโรค
เบาหวานมักเป็นเรื้อรังตลอดชีวิต ถ้าปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแลรักษาอย่างถูกต้องก็อาจเกิดภาวะน้ำตาลใน เลือดต่ำ หรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายรุนแรงฉับพลันได้ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างสะสมจนทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมจนเกิดโรคแทรกซ้อนเกือบทุกระบบดังกล่าวข้างต้นได้
แต่ถ้ารู้จักดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ก็สามารถคุมโรคได้ตามเป้าหมายพึงประสงค์ ผู้ป่วยก็จะชะลอไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขเฉกเช่นคนทั่วไป และมีชีวิตยืนยาว อาจอยู่ถึง 80-90 ปีได้
ภาวะแทรกซ้อน
มักเกิดกับผู้ป่วยที่ปล่อยปละละเลย ขาดการรักษา หรือปรับลดหรือปรับเพิ่มยาเองตามอำเภอใจ (ด้วยความไม่เข้าใจถึงความเป็นเพชฌฆาตมืดของโรคนี้)
ที่เป็นอันตรายร้ายแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตฉับพลัน ได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (มักเกิดจากการใช้ยาเกินขนาด กินอาหารน้อยหรือผิดเวลา) และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมากๆ (มักเกิดจากการขาดยา หรือหยุดยากะทันหัน) ซึ่งอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ และถ้าได้รับการรักษาไม่ทันกาลก็อาจเสียชีวิตได้
ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อยอย่างสะสม ก็มักจะเกิดจากการปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (150-200 มก./ดล.) อยู่นาน 5-10 ปีขึ้นไป โดยที่ผู้ป่วยรู้สึกสบายดี (ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าคุมโรคได้แล้ว จึงแอบปรับลดยาเอง และไม่เคร่งครัดในการควบคุมอาหารและน้ำหนักตัว) ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้
- หลอดเลือดแดงทั้งขนาดใหญ่และเล็กทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น จอประสาทตาเสื่อม (ตามัว ตาบอด) ไตวายเรื้อรัง (ถึงขั้นต้องฟอกไต) ประสาทเสื่อม (ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูกเรื้อรัง อาการโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน องคชาตไม่แข็งตัว หรือนกเขาไม่ขัน) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (ถึงขั้นหัวใจวายกะทันหัน ซึ่งเป็นสาเหตุการตายฉับพลันของผู้ป่วยเบาหวาน) อัมพาต ความจำเสื่อม ภาวะเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นอย่างถาวร แม้ว่าต่อมาจะสามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีก็ไม่ได้ช่วยให้ฟื้นคืนสู่ปกติได้ คือมีแต่ทรงกับทรุดลงเท่านั้น
- เกิดการติดเชื้อง่าย เนื่องจากเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซาก (เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง) หรือติดเชื้อรุนแรง (เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรคปอด) ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ก็มีโอกาสเกิดปอดอักเสบรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
- แผลเน่าที่เท้า ซึ่งพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวานมาเกิน 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากเท้าชาจากปลายประสาทเสื่อม (จึงเกิดแผลง่าย) เกิดการติดเชื้อง่ายและรุนแรง (เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ) และแผลหายช้าหรือเป็นเนื้อเน่าตาย (เนื่องจากหลอดเลือดปลายเท้าตีบ ขาดเลือดไปเลี้ยง) อาจถึงขั้นตัดนิ้วเท้า กลายเป็นคนพิการได้
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหินเรื้อรัง นิ่วในถุงน้ำดี กล้ามเนื้อหัวใจพิการ (ทำให้หัวใจวายเรื้อรัง) ภาวะไขมันสะสมในตับ (อาจกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับ ตามมาได้) เป็นต้น
ในรายที่มีอาการปัสสาวะบ่อย และกระหายน้ำบ่อย อาจเกิดจากโรคเบาจืด (diabetes insipidus) ซึ่งพบได้น้อย สามารถแยกจากเบาหวานโดยการตรวจเลือด พบว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ในรายที่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เอดส์ (มีไข้เรื้อรัง ท้องเดินเรื้อรัง) วัณโรคปอด (มีไข้และไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด) คอพอกเป็นพิษ หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (มีอาการหิวบ่อย น้ำหนักลด ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว คอโต) มะเร็ง
อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าว ก็ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด
ขอบคุณข้อมูลและเรื่องราวดีๆจากเว็บไซด์ หมอชาวบ้าน
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีดูแลตัวเองได้ที่เว็บไซด์ หมอชาวบ้าน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น