ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผ่านงานวิจัยมากกว่า 20ปี จากดร.ลิม เซียว จิน จบปริญญาเอกเวชภัณฑ์ทดแทนจากอินเดีย

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผ่านงานวิจัยมากกว่า 20ปี จากดร.ลิม เซียว จิน จบปริญญาเอกเวชภัณฑ์ทดแทนจากอินเดีย
ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานระดับสากลเพื่อประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย

ประโยชน์เห็ดหลินจือแดง

หลินจือต้านมะเร็ง

อาการโรคเกาต์




















เกาต์

มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะเป็นเพียงข้อเดียว ข้อที่พบมาก ได้แก่ นิ้วหัวแม่เท้า (ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า ก็อาจพบในผู้ป่วยบางราย) ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณนั้นจะตึง ร้อนและแดง และจะพบลักษณะจำเพาะคือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลา ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคัน
ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปวดตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังดื่มเหล้า เบียร์ หรือไวน์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง) หรือหลังกินเลี้ยง หรือกินอาหารมากผิดปกติ หรือเดินสะดุด บางครั้งอาจมีอาการขณะมีภาวะเครียดทางจิตใจ เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัดด้วยสาเหตุอื่น บางครั้งอาจมีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น (ชีพจรเต้นเร็ว) อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ในการปวดข้อครั้งแรก มักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน (แม้จะไม่ได้รับการรักษาก็จะค่อยๆ หายไปได้เอง) ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรกๆ อาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อยๆ เช่น ทุก 4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง และระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อยๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่งหลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3 ข้อ (เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือ นิ้วเท้า) จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ

ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อยๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่าตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งแตกออกมีสารขาวๆ คล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่สุดข้อต่างๆ จะค่อยๆ พิการและใช้งานไม่ได้

การดำเนินโรค
โรคนี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่แรก และติดตามการรักษาอย่างจริงจังต่อเนื่อง ก็มักจะมีชีวิตยืนยาวเช่นคนปกติ แต่ถ้าปล่อยปละละเลย ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ก็มักจะมีภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวตามมาได้

ภาวะแทรกซ้อน
มักเกิดกับผู้ป่วยที่ขาดการดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อพิการ การเกิดนิ่วในไต (ซึ่งอาจทำให้เกิดไตอักเสบ และไตวายเรื้อรังได้) การเกิดตุ่มโทฟัสใต้ผิวหนัง (เช่น บริเวณข้อต่างๆ) ซึ่งถ้าแตกมักจะทำให้กลายเป็นแผลเรื้อรัง แลดูน่ารังเกียจ
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ป่วยบางคนอาจมีโรคเบาหวาน ความดันเลือดสูง ภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ซึ่งถ้าขาดการรักษาควบคุม ก็อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมองตีบ หรือไตวายเรื้อรังได้

การแยกโรค
อาการข้ออักเสบ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน เพียง 1-2 ข้อ อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น
  • เกาต์เทียม (pseudo gout) มีอาการคล้ายเกาต์ มากจนบางครั้งแยกกันไม่ออก เกิดจากมีผลึกแคลเซียม ไพโรฟอสเฟต (calcium pyrophosphate) พอกที่ข้อ
  • ไข้รูมาติก (rheumatic fever) พบในเด็กอายุ 5-15 ปี เป็นส่วนใหญ่ มีอาการอักเสบของข้อใหญ่ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก เพียง 1-2 ข้อ ผู้ป่วยอาจมีประวัติเจ็บไข้ เจ็บคอ (ทอนซิลอักเสบ) ก่อนจะมีอาการปวดข้อ 1-4 สัปดาห์
  • โรคติดเชื้อที่ข้อ (pyogenic arthritis) เกิดจากการบาดเจ็บหรือเกิดจากเชื้อแพร่กระจายมาจากส่วนอื่น ของร่างกาย หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคติดเชื้อ เช่น ฝี คออักเสบ ปอดอักเสบ ไตอักเสบ หนองใน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องทันกาล

ขอบคุณข้อมูลและเรื่องราวดีๆจากเว็บไซด์ หมอชาวบ้าน
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีดูแลตัวเองได้ที่เว็บไซด์ หมอชาวบ้าน

ความคิดเห็น

ฟาร์มเพาะปลูก 400ไร่

หน้าสวยด้วยหลินจือ

เห็ดหลินจือกับมะเร็ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณสมบ้ติเห็ดหลินจือแดง

กาแฟเห็ดหลินจือ Lingzhi CoffeeDxn