ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผ่านงานวิจัยมากกว่า 20ปี จากดร.ลิม เซียว จิน จบปริญญาเอกเวชภัณฑ์ทดแทนจากอินเดีย

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผ่านงานวิจัยมากกว่า 20ปี จากดร.ลิม เซียว จิน จบปริญญาเอกเวชภัณฑ์ทดแทนจากอินเดีย
ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานระดับสากลเพื่อประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย

ประโยชน์เห็ดหลินจือแดง

หลินจือต้านมะเร็ง

อ้วนลงพุง อันตราย ความดัน เบาหวาน หัวใจ อัลไซเมอร์ มาแน่นอน รู้เร็วรักษาทัน


อ้วนลงพุง



อย่าทำเป็นเล่นไป เสี่ยงทั้งโรคเบาหวาน ความดัน อัลไซเมอร์ โรคหัวใจ ส่อถึงอันตรายมากกว่าที่คิด
ความอ้วนไม่เข้าใครออกใคร เมื่อปีก่อนหุ่นยังเฟิร์ม หน้าท้องแบนราบ แต่ปีนี้กลับอ้วนลงพุงซะแล้ว

แต่อย่าคิดว่าการมีพุงย้วย ๆ เป็นแค่ปัญหาความอ้วนธรรมดานะ เพราะนิตยสาร Lisa ออกมาเตือนเลยว่า อ้วนลงพุง อันตรายกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันที่สะสมอยู่บริเวณช่วงท้อง
! ไขมันช่องท้อง สาเหตุของอ้วนลงพุง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่คนอ้วนลงพุง มีไขมันหน้าท้องมาก มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากกว่าคนอ้วนซะอีก

โดยผลวิจัยนี้ถูกนำเสนอใน European Society of Cardiology เมื่อปี 2012 โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยกว่า 12,785 คน ตลอดระยะเวลา 14 ปี คำนวณหาดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ซึ่งเป็นอัตราของไขมันในร่างกายต่อความสูง และอัตราส่วนของเอวต่อสะโพก เพื่อหาอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ แต่มีขนาดรอบเอวมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติและขนาดรอบเอวปกติ 2.1 เท่า ซึ่งเข้าข่ายอันตรายเลยทีเดียว นอกจากนี้โรคที่มาพร้อมกับการอ้วนลงพุงก็คือ… ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่อ้วนลงพุง อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ทำให้ปอดทำงานลดลง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ และไม่มีไขมันหน้าท้อง

ผลการวิจัยนี้พบว่าผู้ที่มีไขมันส่วนเกินทำให้อัตราการหายใจลดลง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานาน อาจทำให้ทางเดินหายใจหดแคบลง และก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรังอย่างหอบหืดตามมาได้ การทำงานของหลอดเลือดผิดปกติ



ผลการศึกษาจากปี 2012 พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่อ้วนลงพุงกับภาวะการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตันและภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยนักวิจัยได้เปรียบเทียบระหว่างคนอ้วน คนอ้วนที่มีพุง และคนที่มีสุขภาพดี พบว่าหากอัตราส่วนของเอวต่อความสูงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 0.1 ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น ฉะนั้นผู้ที่มีไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้อง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและภาวะหลอดเลือดแข็งตัว อันอาจก่อให้เกิด
-โรคหัวใจตามมาได้
-เสี่ยงต่อเบาหวาน
-ไขมันในช่องท้องเป็นไขมันที่พบในคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง ไขมันนี้มีการผลิตฮอร์โมนซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย และนอกจากนี้ฮอร์โมนดังกล่าวยังทำให้ตัวรับสัญญาณอินซูลินทำงานผิดปกติ ซึ่งหมายความว่าอินซูลินซึ่งเป็นตัวควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายจะทำงานด้อยลง ทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมานั่นเอง

ระดับคอเลสเตอรอลสูง ไขมันที่อยู่บริเวณขาหรือก้นเป็นไขมันที่มีการเผาผลาญที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าไขมันบริเวณหน้าท้องของคนอ้วนลงพุง ซึ่งการเผาผลาญไขมันที่อยู่บริเวณขาและก้นดีกว่าเนื่องจากได้ระดับน้ำตาล ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และอินซูลินต่ำกว่าไขมันที่เผาผลาญจากบริเวณช่องท้อง นอกจากนี้ไขมันในช่องท้องยังสามารถเปลี่ยนเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายผลิตคอเลสเตอรอลชนิดเลว LDL (ซึ่งเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อสุขภาพ) นอกจากนั้นกรดไขมันอิสระยังทำให้ระดับของไขมันดีหรือคอเลสเตอรอล HDL ลดลง

ซึ่งไขมันเหล่านี้ไม่เพียงส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิด
-โรคหัวใจ
-ความดันโลหิตสูง
-และภาวะหัวใจวายตามมาได้
-ยิ่งอ้วนยิ่งเสี่ยงโรคสมองเสื่อม
-และอัลไซเมอร์

ผลการศึกษาในปี 2010 พบว่ายิ่งรอบเอวคุณหนามากเท่าไร รวมทั้งยิ่งอ้วนลงพุงมากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงต่อ
-ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มากขึ้นเท่านั้น โดยจากการศึกษาพบว่า ผู้ที่อ้วนลงพุงอาจส่งผลทำให้เซลล์สมองน้อยกว่าคนปกติ

ซึ่งก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ตามมาได้ โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าไขมันจะไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงเซลล์สมองไม่สะดวก สมองจึงขาดออกซิเจน และทำให้เซลล์ตายนั่นเอง

วิธีรับมือกับอ้วนลงพุง
-การรับประทานอาหารส่งผลโดยตรงต่อระดับไขมันในร่างกาย
-รวมทั้งพันธุกรรมก็ส่งผลต่อความอ้วนด้วยเช่นกัน ซึ่งหากคุณเป็นคนอ้วนลงพุง อยากลดน้ำหนักเพื่อให้มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ

ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าต้องออกกำลังกายเพื่อกำจัดไขมันในช่องท้องเหล่านี้ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างอาหารไขมันต่ำก็ช่วยได้ พร้อมทั้งลองหาเวลาออกกำลังกายให้ได้สักวันละ ½ หรือ 1 ชั่วโมง เป็นประจำ เพียงเท่านี้ไขมันรอบเอวหนา ๆ ก็จะลดลงได้แล้วล่ะ

จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองจัดอยู่ในภาวะ "อ้วน" หรือไม่ หากคุณเป็นคนผอมหรือน้ำหนักตัวปกติก็อย่าได้ชะล่าใจว่าคุณจะมีไขมันน้อยตามไปด้วย ฉะนั้นหากอยากรู้ว่าตนเองอ้วนหรือไม่

ลองหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index:BMI) เพื่อประเมินภาวะอ้วนหรือผอม โดยมีสูดังนี้

BMI=น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 จากนั้นนำค่าที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์

BMI kg/m2 น้อยกว่า 18.50 อยู่ในเกณท์ น้ำหนักน้อย /ผอมมากกว่าคนปกติ ภาวะเสี่ยงต่อโรค

ระหว่าง 18.50–22.90 ปกติ (สุขภาพดี) เท่าคนปกติ

ระหว่าง 23–24.90 ท้วม / โรคอ้วนระดับ 1 อันตรายระดับ 1

ระหว่าง 25–29.90 อ้วน / โรคอ้วนระดับ 2 อันตรายระดับ 2

มากกว่า 30 อ้วนมาก / โรคอ้วนระดับ 3 อันตรายระดับ 3 อ้วนลงพุงอย่าคิดว่าอ้วนแค่ขำ ๆ เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังอย่างคาดไม่ถึง


ขอบคุณข้อมูลจาก Lisaguru

ฉะนั้นมาออกกำลังกายลดพุงกันเถอะ และหาสมุนไพรบำบัดมารับประทานควบคู่กันไปด้วยจะเป็นการดีที่สุด 

ความคิดเห็น

ฟาร์มเพาะปลูก 400ไร่

หน้าสวยด้วยหลินจือ

เห็ดหลินจือกับมะเร็ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุณสมบ้ติเห็ดหลินจือแดง

กาแฟเห็ดหลินจือ Lingzhi CoffeeDxn